เมนู

แสดงปฏิจจสมุปบาทข้อที่ 4


เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นท่ามกลางเถาวัลย์
นั่นแหละก่อน เขาก็ตัดตรงกลางจับสาวลงมาข้างล่างจนถึงโคนนำไปใช้การงาน
ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลาง
จนถึงข้อต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร 4 เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. อาหาร
4 เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นกำเนิด
มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็น
เหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด.
ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นกำเนิด มี
เวทนาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ เวทนา...ผัสสะ...
สฬายตนะ...นามรูป...วิญญาณ...สังขารทั้งหลายมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขาร
ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด
* ดังนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงแสดงเช่นนี้
ตอบว่า เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมเจริญรอบด้าน และพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเล่าก็ทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนา.
จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นธรรมเจริญรอบด้าน ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อแทงตลอดญายธรรมโดยเทศนานั้นนั่นแหละ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
* ม. มูล เล่ม 12 446/479

ทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนา เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชญาณ 4
และปฏิสัมภิทาญาณ 4 และทรงถึงความลึกซึ้ง (ในปฏิจจสมุปบาท) 4 อย่าง
พระองค์ทรงแสดงธรรมโดยนัยต่าง ๆ ก็เพราะทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วย
เทศนานั้นแล.
แต่เมื่อว่าโดยแปลกกันแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เทศนาใดเป็นเทศนา
โดยอนุโลมจำเดิมแต่ต้น เทศนานั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเทศนาที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพิจารณาเห็นเวไนยชนผู้ลุ่มหลงในการจำแนกเหตุที่เป็นไปทรง
ประกาศแล้ว เพื่อทรงชี้แจงความเป็นไปตามเหตุอันควรแก่ตน และเพื่อทรง
ชี้แจงถึงลำดับแห่งความเกิดขึ้น. เทศนาใดที่ทรงแสดงโดยปฏิโลมตั้งแต่ข้อ
สุดท้ายทวนไป เทศหานั้น พึงทราบว่า เป็นเทศนาที่พระองค์พิจารณาเห็นโลก
ที่ถึงความลำบาก โดยนัยมีอาทิว่า "โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด
ย่อมแก่ และย่อมตาย" * ทรงประกาศแล้ว เพื่อทรงชี้แจงถึงเหตุแห่งทุกข์
มีชราและมรณะเป็นต้น นั้น ๆ ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว โดยทำนองแห่งการ-
แทงตลอดในส่วนเบื้องต้น. อนึ่ง เทศนาใดทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางไปจนถึง
ข้อต้น เทศนานั้นพระองค์ทรงประกาศแล้ว เพื่อทรงนำอดีตกาลมาแสดงโดย
ลำดับแห่งเหตุและผล จำเดิมแต่อดีตกาลอีก โดยทำนองการกำหนดตัณหา
เป็นเหตุแห่งอาหาร. แต่เทศนาใดที่ทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางจนถึงที่สุด เทศนา
นั้นเป็นเทศนาที่ทรงประกาศเพื่อทรงชี้แจงอนาคตกาล จำเดิมแต่สมุฏฐานแห่ง
เหตุของอนาคตกาลในปัจจุบันนกาล.
ในเทศนา 4 เหล่านั้น เทศนานี้ใดที่ตรัสแสดงโดยอนุโลมตั้งแต่ต้น
เพื่อทรงชี้แจงความเป็นไปตามเหตุของคนแก่เวไนยชนผู้ลุ่มหลงเหตุแห่งความ
* ที. มหาวคฺค. เล่ม 2. 38/35

เป็นไป และเพื่อทรงชี้แจงลำดับความเกิดขึ้นนั้น เทศนานั้นพึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้วในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในปฏิจจสมุปบาทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสอวิชชาไว้แต่ต้น แม้อวิชชาก็ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นเหตุเดิมของโลก
เหมือนความคงที่ของพวกปกติวาทีหรือ ?
ตอบว่า อวิชชา มิใช่ไม่มีเหตุ เหตุแห่งอวิชชา พระองค์ตรัสว่า
อาวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย (อวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาสวเกิดขึ้น) ดังนี้.
ถามว่า ก็ปริยายที่เป็นเหตุเดิมมีโดยสภาวะใด ก็สภาวะนั้นได้แก่อะไร
ตอบว่า ได้แก่ภาวะที่เป็นประธานของวัฏฏกถา (กถาว่าด้วยวัฏฏะ).
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ก็ตรัสธรรม 2 อย่าง
ทำให้เป็นประธานหรือตรัส อวิชชาเป็นประธาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ปุริมา ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺญายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิ
อถ ปจฺฉา สมภวีติ เอวญฺเจตํ ภิกฺขเว วุจฺจติ อถ จ ปน ปญฺญายติ
อิทปฺปจฺจยา อวิชฺชา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาไม่
ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น
เราจึงกล่าวคำนี้ อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็น
ปัจจัย จึงปรากฏ*
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัส ภวตัณหาเป็นประธาน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาไม่ปรากฏ ในกาลก่อน
แต่นี้ภวตัณหาไม่มี แต่กายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้

* องฺ ทสก. เล่ม 24 61/120

อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีข้อนี้เป็นปัจจัย จึง ปรากฏ*
ดังนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา จึงตรัส
ธรรม 2 นี้ ทำให้เป็นประธาน.
ตอบว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมให้สัตว์ถึงสุคติ
หรือทุคติ. จริงอยู่ อวิชชาเป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมอันให้สัตว์ถึงทุคติ. เพราะ
เหตุไร เพราะปุถุชนผู้อันอวิชชาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมอันให้ตน
ถึงทุคติอเนกประการมีปาณาติบาตเป็นต้น อันไม่มีความชื่นใจเพราะความ
เร่าร้อนด้วยกิเลสบ้าง อันนำความพินาศแก่ตนเพราะต้องตกไปสู่ทุคติบ้าง
เหมือนแม่โคที่จะถูกฆ่าถูกความบอบช้ำครอบงำ เพราะเร่าร้อนด้วยไฟและถูก
ตีด้วยค้อน และเหมือนการต้มน้ำร้อนอันไม่มีความชื่นใจ เพราะความเป็นผู้
กระหายด้วยการบอบช้ำนั้น แม้นำมาซึ่งความพินาศแก่ตน.
ส่วนภวตัณหาเป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมอันยังสัตว์ให้ถึงสุคติ เพราะ
เหตุไร ? เพราะปุถุชนผู้อันภวตัณหาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมอันให้ถึง
สุคติอเนกประการมีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งมีแต่
สำราญใจ เพราะเว้นจากความเร่าร้อนด้วยกิเลส และบรรเทาความบอบช้ำด้วย
ทุกข์ ในทุคติของคน เพราะลุถึงสุคติ เหมือนแม่โคมีประการตามที่กล่าวแล้ว
เริ่มดื่มน้ำเย็นซึ่งมีแต่ความสำราญด้วยความอยากในน้ำเย็น และบรรเทาความ
บอบช้ำของตน ฉะนั้น.
ก็บรรดาธรรมที่เป็นประธานแห่งวัฎฏกถาเหล่านี้ ในที่บางแห่ง พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเทศนาอันมีธรรมอย่างเดียวเป็นมูล อย่างไร คือ
* องฺ ทสก. เล่ม 24. 62/124

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังนี้แล สังขาร
ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย

เป็นต้น1 อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
2 เป็นต้น.
ในที่บางแห่ง ทรงแสดงธรรมแม้ทั้ง 2 เป็นมูล คือ อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลผู้มีอวิชชานิวรณ์ ประกอบพร้อมด้วย
ตัณหาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ และกายนี้ด้วย นามรูปภายนอกทั้งนี้ย่อม
มีด้วยประการฉะนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปภายนอกทั้ง 2 จึงเกิด
ผัสสะ สฬายตนะทั้งหลาย คนพาลผู้อันผัสสะและสฬายตนะทั้ง 2
เหล่าใด ถูกต้องแล้ว ก็ย่อมเสวยเฉพาะสุขหรือทุกข์
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาเทศนาเหล่านั้น ๆ เทศนานั้นอธิการนี้ ด้วยอำนาจอวิชชาว่า
สังขารทั้งหลายย่อมเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า
เป็นธรรมอันหนึ่งที่เป็นมูล (เอกธมฺมมูลิกา).
พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างแห่งเทศนาในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ


ข้อว่า โดยอรรถ ได้แก่ โดยอรรถ (เนื้อความ) แห่งบททั้งหลาย
มีอวิชชาเป็นต้น คืออย่างไร คือ กายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า อวินฺทิยํ
(ธรรมชาติไม่ควรได้) เพราะอรรถว่าไม่ควรบำเพ็ญ คือสิ่งที่ไม่ควรได้
(วิเคราะห์ว่า) ตํ อวินฺทิยํ วินฺทตีตํ อวิชฺชา ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะ
อรรถว่า ย่อมได้สิ่งที่ไม่ควรได้นั้น.
1. สํ. นิทาน. เล่ม 16. 69/37 2. สํ. นิทาน เล่ม 16. 196/102